องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดงหมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง ได้เน้นการบริหารท้องถิ่น ผ่านกระบวนการการสร้างการเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทุกกลุ่มวัย ทุกภาคส่วน มีการขับเคลื่อนระบบการเรียนรู้ของชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต
ของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในพื้นที่ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ยังเน้นการนำใช้ข้อมูลและแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน
ผ่านการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลบ้านในดงอันประกอบด้วย การเรียนรู้ด้านการศึกษา การพัฒนาอาชีพ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม การสืบสานประเพณีวัฒนธรรม และ การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร บนฐานการเรียนรู้ของชุมชนแบบพอเพียง มีเป้าหมายหลัก
เพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาศักยภาพของบุคคลในท้องถิ่นให้นำไปสู่การเชื่อมโยง เครือข่ายทางวิชาการ จากชุมชนสู่ชุมชน อันจะนำไปสู่การพัฒนา
คุณภาพชีวิตที่ดี มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป โดยมีหน่วยงานท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่
เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างการเรียนรู้สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดงนี้ ได้มีการวางรากฐานการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมมาใช้
เพื่อให้เกิดในการพัฒนาท้องถิ่น ผู้บริหาร ตัวแทนของภาคประชาชนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่บริหารจัดการภายใน อบต.บ้านในดง
โดยเป็นกลุ่มผู้สร้างกระบวนการระดมความคิดเชิงนโยบายที่นำไปสู่การเชื่อมความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับการตอบสนอง
อย่างทั่วถึง ตรงกับประเด็นปัญหาและผลักดันกิจกรรมให้เกิดความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่คณะทำงาน
ที่มีภาคประชาชนเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมทั้งหมด มีตัวแทนจากฝ่ายบริหารใน อบต.ที่เป็นผู้วางแนวทางนโยบายการพัฒนาที่สอดคล้องกับ
ประเด็นความต้องการของภาคประชาชน ตัวแทนสมาชิก อบต.ที่ทำหน้าที่รับฟัง ชี้แนะ ตรวจสอบและประเมินผลการทำงานของฝ่ายบริหาร
ท้องถิ่น ตัวแทนท้องที่ได้แก่กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านในหมู่ต่างๆ ทำหน้าที่กระจายข้อมูลข่าวสารลงสู่ประชาชนในรูปแบบปากต่อปาก ตัวแทนจาก
ภาคประชาชนที่เข้ามีมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น นำเสนอความต้องการในการแก้ไขปัญหาชุมชนร่วมกัน ทั้งนี้จะมีสัดส่วนของ
ภาคประชาชนเกินกึ่งหนึ่งของสัดส่วนอื่น ๆ ที่รวมกัน ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานราชการที่มีส่วนร่วมต่อการจัดบริการประชาชน
ระดับท้องถิ่น อบต.บ้านในดง ได้มีวิธีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นให้บุคคลฝ่ายราชการประจำและภาคประชาชนได้มีโอกาสฝึกอบรม
เพิ่มประสิทธิภาพการรองรับการบริการเชิงรุก ทั้งการไปฝึกอบรมภายนอกท้องถิ่น และการเชิญวิทยากรมาฝึกอบรมให้ในท้องถิ่น และอีกส่วนหนึ่ง
คือ การนำไปศึกษาดูงานและการฝึกปฏิบัติในภารกิจจริงต่าง ๆ เพื่อให้ได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ และมีประสบการณ์ตรงในสถานที่จริง
ซึ่งโดยใช้การประเมินผลสัมฤทธิ์เป็นตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาองค์ความรู้ เมื่อพนักงานเกิดความรู้ความเข้าใจต่อการจัดบริการ จึงเป็นผลดีต่อ
ประชาชนที่มีใช้บริการจาก อบต. เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างข้าราชการและประชาชน
วิทยากร นายถนอง แสงศิลา
วิทยากร นายวิศิษฐ์ สังข์สุวรรณ